วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

นวนิยายนายขนมต้ม


นายขนมต้ม 

เป็นนวนิยายเรื่องแรกของกวีซีไรท์ของ คมทวน คันธนู หนังสือรางวัลชมเชยงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ๒๕๓o คนกล้านอกตำนาน นายขนมต้มเป็นนิยายที่เชิงประวัติศาสตร์ที่เป็นตำนานสืบทอดกันมาภายในนิยายเล่มนี้นั้นได้มีการอธิบายของที่มาเรื่องนายขนมต้มตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์ มวยนับเป็นอาวุธสำคัญจำเป็นยิ่งสำหรับนักรบสมัยโบราณกาล มีการจารึกไว้ในพงศาวดาร คมทวน คันธนู มีความชอบและสนใจในเรื่องราวประวัติศาสตร์จึงจัดทำนิยายเรื่องนายขนมต้มขึ้นมาเพื่อที่จะให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา เรื่องราวที่แต่งขึ้นมาโดยอิงประวัติศาสตร์แล้วนั้นยังมีการทำเนื้อเรื่องให้สนุกและน่าติดตามยิ่งขึ้น การที่คมทวนแต่งนวนิยายอิงประวัติศาสตร์นักมวยเช่นนี้นับเป็นการริเริ่มมิติใหม่ของการแต่งวรรณกรรมไทย

เรื่องย่อ นายขนมต้ม      
 
นายขนมต้ม ลูกชายของนายเกิดและนางอี่ ชาวบ้านกุ่ม แขวงขุนเสนา มีพี่สาวชื่ออีเอื้อย ทั้งสามถูกพม่าฆ่าตายตั้งแต่ขนมต้มยังเด็ก จึงอาศัยอยู่กับหลวงตาคง วัดปีกกาจนเติบใหญ่ นายขนมต้มถูกอ้ายดำรังแก แต่มีชายนิรนามช่วยไว้ ทำให้ขนมต้มเห็นคุณค่าของแม่ไม้มวยไทย จึงขอร้องให้ชายนิรนามสอนให้แต่ถูกปฏิเสธ
นายสอนและอ้ายดำ ขอท้ามวยกับชายนิรนาม ถึงสองครั้งสองคราแต่ถูกปฏิเสธ ขนมต้มขอสู้กับอ้ายดำและเป็นฝ่ายชนะ นายสอนผู้เป็นพ่อจึงขอแก้มือ และทำให้รู้ว่า ชายนิรนามคือคนที่เขาตามหา หวังให้ร่วมรับศึกกับพม่า ทำให้ทั้งหมดร่วมใจกันคิดสู้พม่า และหลังจากนั้น ขนมต้มกับอ้ายดำ ก็เป็นเพื่อนรักกันตั้งแต่นั้นมา
จากนั้น ขนมต้มได้ลาหลวงตาคง เดินทางร่วมกับอ้ายดำไปป่าโมก เพื่อฝึกวิชามวยเพิ่ม โดยขนมต้มไปอาศัยอยู่กับ ทองอยู่ และนางยมซึ่งเป็นญาติ ขณะที่อ้ายดำไปหาครูเสา ข่าวข้าศึกพม่าประชิดกรุงศรีฯ และจะมีทัพพม่าผ่านทางป่าโมก พันเพชรกับ ครูสุก ได้วางแผนดัน อ้ายเปลว เป็นนายทัพ โดยเรียกครูเสากับทองอยู่มาประชุม ครูเสาได้ต่อว่าครูสุก ที่ให้อ้ายเปลวออกไปรบกับพม่า โดยไม่ให้พวกตนไปด้วย ครูสุกบอกว่าพวกครูเสาเป็นเพียงทัพหลัง หาใช่ดั่งอ้ายเปลว ที่เป็นเหมือนนายทัพ
วันต่อมา อ้ายดำและอ้ายเทียบ นำพวกแอบซุ่มโจมตีฆ่าพม่าได้ยี่สิบคน แต่อ้ายดำได้รับบาดเจ็บ ครูสุกจึงมีความโกรธแค้น ที่อ้ายดำและอ้ายเทียบพร้อมพรรคพวก ทำได้เช่นเดียวกับอ้ายเปลว อีกทั้งทราบข่าวว่า ขนมต้มกับออนุ่น ซึ่งเป็นฝ่ายสอดแนม กำลังเดินทางไปกรุงศรีฯ จึงตามไปดักรอในป่าที่โพงเพง เมื่อประจันหน้ากันแล้ว ครูสุกได้ใช้แม่ไม้มวยไทยกับขนมต้มจนได้รับบาดเจ็บ และฆ่าออนุ่นตาย เหตุเพราะต้องการทราบว่า ขนมต้มเรียนแม่ไม้มวยไทยมาจากใคร เพราะคนๆ นั้นคือคนที่ครูสุกตามหาอยู่ อีกทั้งหมายจะฆ่าขนมต้มด้วย แต่ชายนิรนามมาช่วยไว้ทัน
หลังจากทุกคนทราบว่า ครูสุกและอ้ายเปลวหักหลังคนไทยด้วยกัน โดยอ้ายเปลวนำทัพพม่าบุกป่าโมก จึงให้ขนมต้มกับอ้ายมิ่งขึ้นกรุงศรีฯ ขออาวุธและทหารมาช่วย แต่ระหว่างทาง เจอครูสุกดักรอขอประลองมวย ครูสุกแพ้จึงคิดใช้ดาบฆ่าขนมต้ม แต่ชายนิรนามมาช่วยไว้ทัน และฟันครูสุกคอขาดกระเด็น จากนั้นทั้งสองจึงเดินทางต่อ แต่ก็หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย
ฝ่ายป่าโมก โดนพม่าซึ่งมีอ้ายเปลวเป็นคนนำทัพโจมตี ทำให้นายสอน, ครูทองอยู่, ครูเสา, จั๊กกะจั่น, มะขาม, อ้ายดำ ตายสิ้น รวมทั้งพันเพชรด้วย ทำให้อ้ายเปลวเกิดความละอายใจ และด้วยความแค้น จึงวิ่งไล่ฆ่าพม่าและคนไทยด้วยกันโดยไม่ยั้งคิด กรรมตามสนองอ้ายเปลวคนขายชาติ มังทอคะยา สั่งจับอ้ายเปลวเป็นเชลย รวมกับคนไทยคนอื่นด้วย ตราบจนถึงวาระที่พระเจ้ามังระจัดฉลองพระเจดีย์ จึงได้มีพระราชโองการให้เบิกตัวนายขนมต้มจากที่คุมขัง มาแสดงฝีมือมวยไทยหน้าพระที่นั่ง โดยมีเดิมพันว่า หากขนมต้มแพ้จะถูกบั่นคอ แต่หากชนะขนมต้มประสงค์สิ่งใดก็ทูลขอได้ การต่อสู้มวยไทยของขนมต้ม เป็นไปตามลีลาแม่ไม้มวยไทยที่เป็นต้นตำรับขนานแท้ จนเอาชนะพม่าได้ถึงสิบคน ในเวลาเพียงกะลายังไม่จมน้ำ
พระเจ้ามังระทรงให้รางวัลแก่ขนมต้ม เป็นนางสนมถึงสองคนเพื่อไปทำเมีย แต่ขนมต้มปฏิเสธและทูลขอให้พระเจ้ามังระ ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่คนไทยได้เป็นอิสระ ไม่ตกเป็นเชลยของพม่าอีกต่อไป พระเจ้ามังระเป็นกษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ ทรงปลดปล่อยคนไทยเป็นอิสระจากการตกเป็นเชลยศึกของพม่า และทรงตรัสชมขนมต้มว่า “คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคน นี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดขากันเอง และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึก ดั่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้”
      จึงจะเห็นได้ว่าเรื่องราวของนายขนมต้มนั้นเต็มไปด้วยเรื่องราวที่ต้องเผชิญด้วยชีวิตโดยไม่มีพ่อแม่อาศัยกับหลวงตาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เติบโตมาเป็นนักมวยที่เก่งที่สุดในตอนนั้น และนวนิยายของ คมทวนได้มีบทส่งท้ายไว้อีกว่า
      ในพงศาวดารของพม่าเองมีจารึกสั้นๆ ถึงนักมวยไทยคนหนึ่งที่ตกเป็นเชลยคราวกรุงศรีอยุธยาแตกขึ้นชกมวยคราวพระเจ้ามังระเสด็จไปถวายมงกุฎทรงยอดเจดีย์ชะเวดากอง แล้วปราบมวยพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคน แต่ก็หาได้พูดถึงเพลงมวยพิสดารที่ปราบครูมวยแต่ประการใดไม่ มีพงศาดารไทยฉบับหนึ่งเอ่ยถึงนายขนมต้มในทำนองเดียวกัน แต่ก็ล่วงเลยหลังพม่ามาเกือบร้อยปี ทั้งยังไม่มีใครรู้ชัดลึกว่า ขนมต้มเป็นใคร มาจากไหน และจบชีวิตอย่างไร
     หากนวนิยายเชิงประวัติศาสตร์เรื่องนี้สามารถทำให้คนไทยได้คิดและมีสติตรึกตรอง คุณงามความดีย่อมเกิดแต่นักมวยอาภัพอย่างนายขนมต้มเพียงผู้เดียว
      จากการที่นิสิตได้อ่านนิยายเรื่องนี้แล้วทำให้รู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ยังไม่เคยรู้และเป็นสิ่งที่คนไทยควรรู้และไม่ควรลืม ที่มาความเป็นไปของนายขนมต้มนั้น ได้ทั้งความรู้และสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้อย่างเช่นการอดทน ฝึกฝนในการที่จะทำสิ่งนั้นๆให้ได้สำเร็จลุล่วงดั่งที่ต้องการ และการรักชาติแผ่นดินของนายขนมต้มอย่างตอนหนึ่งในนิยายเล่มนี้คือ "การที่มีเดิมพันว่า หากขนมต้มแพ้จะถูกบั่นคอ แต่หากชนะขนมต้มประสงค์สิ่งใดก็ทูลขอได้ การต่อสู้มวยไทยของขนมต้มเป็นไปตามลีลาแม่ไม้มวยไทยที่เป็นต้นตำรับขนานแท้จนเอาชนะพม่าได้ถึงสิบคนในเวลาเพียงกะลายังไม่จมน้ำพระเจ้ามังระทรงให้รางวัลแก่ขนมต้มเป็นนางสนมถึงสองคนเพื่อไปทำเมียแต่ขนมต้มปฏิเสธและทูลขอให้พระเจ้ามังระทรงพระราชทานอภัยโทษแก่คนไทยได้เป็นอิสระไม่ตกเป็นเชลยของพม่าอีกต่อไป"  
          เรื่องราวทั้งหมดไม่ได้มีแค่เรื่องย่อที่กล่าวมาข้างต้นนวนิยายนายขนมต้มนี้ได้มีข้อคิดดีๆที่สามารถนำมาใช้และสามารถนำมาเล่าพูดถึงนายขนมต้มไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นได้

2 ความคิดเห็น:

  1. ..คนพะม่า คงเรียกนายขนมต้มว่า นายขนมหัวล้าน ครับ.. เพราะ ขนมพะม่า ชื่อว่า เมาะ โล้น เยีย บอ.. คือ ขนมหัวล้าน แต่ฝรั่งมาแปลพะม่าเป็นอังกฤษ แล้วจากอังกฤษมาแปลเป็นไทยว่า ขนมต้ม.. คำเรียก นายขนมหัวล้าน คงเป็นคำเรียกของผู้คุมพะม่า จากลักษณะของเชลยชาวสยาม..
    และที่เรามาสร้างเรื่องราวชีวประวัติ​นายขนมต้ม ว่าเป็นเด็กวัดหัดมวยจากวัดอายุย่าง17ปี แล้วถูกพะม่าจับไปเป็นเชลย 7 ปี จนได้รับคัดเลือกในฐานะเชลยศึกสยามอายุ 24 ปี ซึ่งคงอดหยากผอมโซเพื่อไปชกมวยกับนักมวยทหารพะม่า แล้วเก่งกาจสามารถจนชนะได้ถึง9คน10คน.. คงจะไม่ใช่วัยรุ่นเด็กวัดหัดมวยวัด..ส่วนตัวผมสันนิษฐาน​ ว่าท่านน่าจะเป็นขุนศึกทหารสยามคนใดคนหนึ่งที่เก่งกล้าสามารถแต่พลาดท่าเสียทีถูกทหารพะม่ารุมจับตัวไป.. อาทิ ขุนรองปลัดชู หรือ ขุนสรรค์.. มากกว่าครับ..
    เมื่อไปศึกษา​วิเคราะห์เรื่องราวของขุนรองปลัดชู ก็ยิ่งน่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะเป็น นายขนมต้ม ครับ..
    1.พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวถึงศึกที่อ่าวหว้าขาว กุยบุรี ประจวบฯ.. พระยาพิชัยสงคราม เจ้าเมืองกุยบุรี มีชื่ออีกชื่อว่า รองปลัดชู.. ได้สู้รบกับพะม่าและถูกจับตัวไปในปีพ.ศ.2308..
    2.ต่อมาถึงปี พ.ศ.2319 คือ อีก 11ปี หลังจากนายขนมต้มตกเป็นเชลย 7ปี ท่านน่าจะกลับเมืองวิเศษชัยชาญ​ได้ 4ปี จึงมีการสร้างวัดสี่ร้อย เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล​ให้กับกองทหารอาทมาต400คน..
    3.ต่อมาอีก 7 ปี ปรากฏชื่อ ขุนรองปลัดชู เข้าร่วมในกองทัพพระเจ้าตากสินมหาราช ในการรบศึกอะแซหวุ่นกี้..

    ตอบลบ
  2. ขอิภัยปีพ.ศ.คลาดเคลื่อน ครับ.. โดนจับปี 2302..สร้างวัดมี่ร้อย ปี2314

    ตอบลบ

นวนิยายนายขนมต้ม

นายขนมต้ม  เป็นนวนิยายเรื่องแรกของกวีซีไรท์ของ คมทวน คันธนู หนังสือรางวัลชมเชยงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ๒๕๓ o “ คนกล้านอกตำนาน นายขนม...